ระบบ Automation และบทบาทที่เปลี่ยนไปของแรงงาน

หันไปทางไหนในตอนนี้ก็เจอแต่บทความออโตเมชันเต็มไปหมด เทรนด์ที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนกลัวหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ ‘ผิดอย่างมหันต์’ เพราะแรกเริ่มเดิมทีการเกิดขึ้นของระบบออโตเมชันมีขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ หรือทำงานในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งจริงๆ แล้วระบบออโตเมชันสามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความต้องการ (Demand) และการใช้ทรัพยากรมากขึ้นในภาคส่วนอื่นๆ รวมถึงภาคส่วนของออโตเมชันเองด้วย ทั้งยังเพิ่มกำลังการผลิตและสร้างโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเป็นประจำอยู่แล้วสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันในตลาดต่างประเทศมีการตื่นตัวในการใช้ระบบออโตเมชันและหุ่นยนต์เป็นอย่างมาก ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดโลกอย่างกว้างขวาง

ระบบ Automation และบทบาทที่เปลี่ยนไปของแรงงาน

เทรนด์การนำหุ่นยนต์มาแทนที่คนส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและการขาดแคลนแรงงานฝีมือซึ่งเป็นช่องว่างที่ถูกเติมเต็มด้วยเทคโนโลยี ทำให้ผู้คนต่างวิตกกังวลว่าที่ของคนจะอยู่ตรงไหนในงานอุตสาหกรรม? เรื่องราวทำนองนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงศตวรรษที่ 19 กับปรากฏการณ์หวาดกลัวเครื่องจักรเข้ามาแทนที่มนุษย์แต่เราก็ก้าวข้ามมันมาได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก่อนที่จะรู้ว่าที่แรงงานมนุษย์อยู่ตรงไหนของอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน เรามารู้จักประโยชน์ของหุ่นยนต์หรือระบบออโตเมชันกันก่อนครับ

ออโตเมชันช่วยอะไรได้?

จากรายงานพบว่าค่าเฉลี่ยความสามารถในการทำงานของแรงงานเมื่อนำหุ่นยนต์เข้ามาเพิ่มขึ้น 0.37% เพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้ถึง 13.6% ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์หลักของการใช้งานหุ่นยนต์ดังนี้

  1. ลดต้นทุน – ออโตเมชันช่วยลดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานทำให้ไม่เกิดค่าใช้จ่ายจากการบาดเจ็บหรือ Downtime
  2. เพิ่มคุณภาพ – ระบบออโตเมชันนั้นเป็นสิ่งที่มีความแม่นยำสูง สามารถผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงและทำงานในรูปแบบพิเศษที่มนุษย์ไม่อาจทำได้
  3. เพิ่มความสามารถในการผลิต – การทำงานภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด เช่น สถานที่ สภาพแวดล้อม ระยะเวลา ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีไม่อย่างนั้นจะสูญเสียอย่างมาก เช่น การบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดการส่งชิ้นส่วนที่ล่าช้า หรือการทำงานซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากความเมื่อยล้า
  4. รักษาสุขภาพและความปลอดภัยที่ดี – การใช้งานระบบออโตเมชันสามารถส่งเสริมความปลอดภัยของกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างดีด้วยระบบเซนเซอร์ตรวจจับการทำงาน ทดแทนแรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น ระบบหยุดการทำงานของหุ่นยนต์เมื่อมีคนเข้าไปใกล้

จะเห็นได้ว่าระบบออโตเมชันนั้นเข้ามาสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อความสูญเสียเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นการยกของหนัก การขนย้ายวัสดุในพื้นที่จำกัด หรือการทำงานในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมอันตราย ทำให้ระบบออโตเมชันและหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ยกระดับการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมขึ้นไปอย่างรวดเร็ว

เพื่อนบ้านว่าไงกันบ้าง?

จากรายงานของ International Federation of Robotics (IFR) แสดงข้อมูลการใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น การแข่งขันในตลาดเน้นความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเป็นกำลังสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนแรงงานฝีมือในการผลิต มี ROI (Return on Investment) ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า กลุ่มอุตสากรรมที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน คือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการเติบโตถึง 41%

สนใจสามารถติดตามอ่านต่อได้ที่ : https://www.mmthailand.com/robot_labor/